เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย
สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง
การปรับปรุงทางด้านสงคมในสมัยรัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงเวลาที่ชาวไทย เริ่มมีการปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีทางตะวันตก ภายหลังจากที่ไทยทาสนธิสัญญาทางการค้ากับชาวตะวันตก
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สาคัญในสมัยรัชกาลที่ 4
• อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเข้ารับราชการ• ให้เสรีภาพแก่สตรีที่บรรลุนิติภาวะในการเลือกคู่ครองโดยพ่อแม่จะบังคับไม่ได้• ห้ามพ่อแม่ขายบุตรเป็นทาส• ห้ามสามีขายภรรยาเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ• ให้นางแอนนา เลียวโนเวนส์ ชาวอังกฤษ ไปสอนภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรสและธิดา• โปรดให้สตรีคณะมิชชันนารีผู้สอนศาสนาคริสต์เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้สตรีในราชสานัก
การปรับปรุงประเพณีและวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 4
1. ประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า2. โปรดให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้น เพื่อเป็นของที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน เป็นบาเหน็จรางวัลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการไทย และชาวต่างประเทศ
3. ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้าพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงร่วมเสวยด้วย4. ฟื้นฟูประเพณีการตีกลองร้องฎีกา เพื่อให้ทราบถึงทุกข์สุขของราษฎรโดยจะเสด็จออกมารับฎีกาด้วยพระองค์เอง ทุกวันโกณ เดือนละ 4 ครั้ง5. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกนับถือศาสนา6. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกประกอบอาชีพ7. กาหนดให้ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เป็นวัดประจารัชกาล ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร8. รัชกาลที่ 4 ทรงก่อตั้งธรรมยุตินิกาย เมื่อครั้งยังผนวชที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 3
การปรับปรุงด้านสาธารณสุขสมัยรัชกาลที่ 4
ด้านการสุขาภิบาล สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการสุขาภิบาลตามคาแนะนาของบาทหลวงมิชชันนารีบ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด
การปรับปรุงสังคมในสมัยรัชกาลที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) การ
ปฏิรูปทางสังคมที่สาคัญที่สุดคือ การเลิกทาส
ทาส เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะทางสังคมต่าที่สุด สมัยรัตนโกสินทร์มีทาสอยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของประชากร
ขั้นตอนการเลิกทาสของรัชกาลที่ 5
1. ทรงตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท พุทธศักราช 2417 ความว่า
“ลูกทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่รัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นต้นมา ให้มีค่าตัวใหม่และ จะมีค่าตัวเมื่ออายุ 8 ปี ชายจะมีค่าตัวสูงสุด 32 บาท หญิงจะมีค่าตัวสูงสุด 28 บาท หลังจากนั้นแล้วค่าตัวจะลดลงทุกทีจนหมดค่าตัวเมื่ออายุ 21 ปี”
2. ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซื้อลูกทาสที่อยู่กับนายเงินเพียงคนเดียวมา 25 ปี ให้เป็นอิสระ ไถ่ทาสได้ทั้งหมด 44 คน
3. ในพ.ศ.2443 ทรงออกพระราชบัญญัติทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ร.ศ.119 ขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อให้ทาสในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลาปาง ลาพูน แพร่ น่าน มีโอกาสไถ่ถอนเป็นอิสระได้ง่ายขึ้น และเป็นอิสระได้เมื่อมีอายุ 60 ปี
4. ใน พ.ศ.2447 ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลบูรพา ร.ศ.123 ขึ้น ให้นายเงินลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท ทุกเดือนไปจนกว่าจะหมดค่าตัว ส่วนบรรดาลูกทาสให้นับเป็นไททั้งหมด
5. ในพ.ศ.2448 ทรงตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก ร.ศ.124 กาหนดให้
5.1 ให้ลูกทาสทุกระดับอายุเป็นไทโดยทันทีทั้งหมด
5.2 ให้ทาสชนิดอื่นๆ ได้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท ทุกเดือนไปจนหมดค่าตัว
การเลิกระบบไพร่
การเลิกระบบไพร่ เป็นไปอย่างเป็นขั้นตอน คือ ให้ไพร่หลวงเสียเงินแทนการเข้าเวรรับราชการ
ออกพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหาร แทนโดย กาหนดให้ชายฉกรรจ์ทุกคนที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์จะต้องเข้ารับราชการทหาร (ต่อมาเปลี่ยนเป็น 20 ปี)
การปรับปรุงประเพณีวัฒนธรรม สมัยรัชกาลที่ 5
1. การเปลี่ยนแปลงประเพณีการสืบสันตติวงศ์ รัชกาลที่ 5 โปรดให้ยกเลิกตาแหน่ง วังหน้า (พระมหาอุปราช) และทรงสถาปนาตาแหน่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร แทน
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารองค์แรก คือ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศแต่ทรงสิ้นพระชนม์ก่อน จึงมีการสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมารแทน
2. การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการแต่งกาย ทรงผม
- รัชกาลที่ 5 โปรดให้ชายไทยในราชสานัก เลิกไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนเป็นไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะอย่างฝรั่ง ผู้หญิงโปรดให้เลิกไว้ผมปีก ให้ไว้ผมยาว ทรงดอกกระทุ่ม
- รัชกาลที่ 5 โปรดให้ชายไทยในราชสานักนุ่งผ้าม่วงสีต่างๆสวมเสื้อราชปะแตน สวมหมวกอย่างยุโรป
- รัชกาลที่ 5 โปรดให้ข้าราชการทุกกรมกองแต่งเครื่องแบบ นุ่งกางเกงอย่างทหารในยุโรปแทนโจงกระเบน
- การแต่งกายสตรีเริ่มเปลี่ยนแปลงหลังจากรัชกาลที่ 5 กลับจากประพาสยุโรป ครั้งที่2 โดยสตรีไทยนิยมสวมเสื้อของอังกฤษ คือ เสื้อคอตั้งแขนยาว ต้นแขนพองคล้ายขาหมูแฮม
3. การเปลี่ยนแปลงประเพณีการเข้าเฝ้า
รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ยกเลิกประเพณีการหมอบคลานในเวลาเข้าเฝ้า แต่ให้ใช้วิธีถวายคานับแทนและให้นั่งเก้าอี้ ไม่ต้องนั่งกับพื้น
4. การใช้ศักราชและวันทางสุริยคติในทางราชการ
รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ใช้ ร.ศ. (รัตนโกสินทร์ศก) แทน จ.ศ. (จุลศักราช) ซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเริ่มใช้ ร.ศ.ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2431 เป็นต้นไป เริ่ม ร.ศ.1 ตั้งแต่ปี 2325 ซึ่งเป็นปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
5. รัชกาลที่ 5 โปรดให้ยกเลิกการโกนผมเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต
6. รัชกาลที่ 5 โปรดให้ยกเลิกการไต่สวนแบบจารีตนครบาล
7. รัชกาลที่ 5 ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองสงฆ์ร.ศ.121มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประมุข
8. รัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้งมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มหานิกาย) และมกุฎราชวิทยาลัย
9. วัดประจารัชกาลที่ 5 คือ วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม
10. รัชกาลที่5 อนุญาตให้ชาวต่างประเทศนั่งร่วมโต๊ะเสวยได้ในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา
11. รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มการเสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนตามชนบท เรียกว่า “การเสด็จประพาสต้น”
12. รัชกาลที่ 5 ทรงอนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้าเวลาเสด็จพระราชดาเนินผ่านและไม่ตอง
ปิดประตูหน้าต่าง
การปรับปรุงด้านสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 5
1. การสุขาภิบาล สมัยรัชกาลที่ 5
1.1 ปี พ.ศ.2413 มีประกาศห้ามราษฎรทิ้งของโสโครกลงในคลอง
1.2 ปี พ.ศ.2440 ตั้งกรมสุขาภิบาล ในกระทรวงนครบาล
1.3 ปี พ.ศ.2448 ขยายกิจการสุขาภิบาลไปยังหัวเมือง จัดการควบคุมโรคติดต่อต่างๆ
ได้แก่ โรคอหิวาตกโรค โรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ) โรคหัด กามโรค
2. การตั้งโรงพยาบาล
2.1 โรงพยาบาลแห่งแรกตั้งขึ้นที่ริมคลองบางกอกน้อย เรียกว่า โรงพยาบาลวังหลัง
ต่อมารัชกาลที่ 5 พระราชทานนามใหม่ว่า “โรงศิริราชพยาบาล” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ เจ้าฟ้า ศิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นพระราชโอรส ซึ่งประชวรสิ้นพระชนม์เนื่องจาก ขาดแคลนด้านการพยาบาล
2.2 ปี พ.ศ.2431 ตั้งกรมพยาบาล
2.3 ปี พ.ศ.2436 ตั้งสภาอุณาโลมแดง ปัจจุบันคือ สภากาชาดไทย
2.4 ปี พ.ศ.2445 ตั้งโอสถศาลา (โรงงานเภสัชกร)
3. การตั้งโรงเรียนแพทย์
รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯให้เปิดโรงเรียนแพทย์ขึ้นในโรงพยาบาลศิริราช ในปี พ.ศ.2432 มีชื่อ เรียกว่า โรงเรียนแพทยากร ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ราชแพทยาลัย ปัจจุบันคือ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล
การปรับปรุงด้านการศึกษาสมัยรัชกาลที่ 5
1. โรงเรียนสตรีแห่งแรก มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ตั้งโดยแหม่มเฮาส์ ปี พ.ศ.2417 ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช
2. มีการตั้งโรงเรียนในต่างจังหวัดที่สาคัญได้แก่ โรงเรียนปรินซ์รอแยลวิทยาลัยดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่โรงเรียนผดุงราษฎร์ จังหวัดพิษณุโลก โรงเรียนอรุณประดิษฐ์ จังหวัดเพชรบุรี
3. รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการศึกษา เพราะต้องการสร้างคนที่มีความรู้เพื่อเข้ารับราชการในกระทรวงต่างๆ ที่ทรงปรับปรุงใหม่ โดยตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรก คือ โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2414 โดยพระราชทานเสื้อผ้า อาหารกลางวันให้แก่นักเรียน ครูก็ได้รับค่าจ้าง ต่อมาได้พระราชทานพระตาหนักเดิม ที่สวนกุหลาบ ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของพระบรมมหาราชวังให้เป็นที่เรียนพระราชทานนามว่า โรงเรียนพระตาหนักสวนกุหลาบ โดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นอาจารย์ใหญ่
4. รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการศึกษาเพราะ การเลกทาส ทาให้ทาสเป็นไทเพื่อเป็นการวางรากฐานไม่ให้คนพวกนี้กลับไปเป็นทาสอีก ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อ การพัฒนาประเทศ จึงโปรดให้ตั้งโรงเรียนสาหรับราษฎรขึ้นแห่งแรก คือ “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม” ในปี พ.ศ.2427 เพื่อให้ทุกคนได้รับการศึกษาและ นาไปประกอบอาชีพได้
5. รัชกาลที่ 5 โปรดฯให้ใช้แบบเรียน 6 เล่ม ที่พระยาศรีสุนทรโวหาร แต่งขึ้นใหม่
6. ปี พ.ศ.2430 จัดตั้งกรมศึกษาธิการ รับผิดชอบด้านการศึกษาโดยเฉพาะและเปลี่ยนมาใช้แบบเรียนเร็วของกรมหมื่นดารงราชานุภาพ
7. มีการประกาศใช้โครงการศึกษาชาติ
8. รัชกาลที่ 5 โปรดฯให้มีการสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงขึ้น เรียกว่า “คิงสกอลาชิป” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2440 เป็นประจาทุกๆปี ปีละ 2 คน ส่งไปศึกษายังทวีปยุโรป หรืออเมริก
การปรับปรุงประเพณีวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 6
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
1. การใช้พุทธศักราช (พ.ศ.)รัชกาลที่ 6 โปรดฯให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) แทนการใช้ ร.ศ. เพราะเป็นศักราชทางศาสนาเหมือนกับประเทศตะวันตกใช้คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
2. วันขึ้นปีใหม่ คือวันที่ 1 เมษายนของทุกปี
3. ประกาศใช้พระราชบัญญัตินามสกุล ในปี พ.ศ.2455 รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น เพื่อส่งเสริมความรักใคร่ผูกพันในระหว่างผู้ร่วมนามสกุล และรักษาเกียรติยศ โดยประพฤติไปในทางที่ชอบ
4. การประดิษฐ์ธงชาติใหม รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนธงชาติขึ้นใหม่ใช้สามสีแบบเดียวกับนานาประเทศคือ สีน้าเงิน สีขาว สีแดง พระราชทางนามธงชาติแบบสามสี ห้าริ้ว ว่า “ธงไตรรงค์”
5. การเปลี่ยนแปลงการนับเวลา แต่เดิมไทยนับเวลาตอนกลางวันเป็น “โมง” กลางคืนเป็น “ทุ่ม”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น