ยินดีต้อนรับเข้าสู่Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 15 ความขัดแย้งระหว่างประเทศครั้งสำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น

ความขัดแย้งในคริสต์วรรษที่ 20 การปฏิวัติอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาการของโลกในคริสต์สตวรรษที่ 19 ทำให้โลกก้าวหน้ามากขึ้น มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้และปรับปรุงการคมนาคมที่ อำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย- กรรม อันมีผลทำให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติมหาอำนาจ และเริ่มแข่งขันกันแสวงหา อาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเล อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติในฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1789 โดยการ ล้มล้างสถาบันกษัตริย์แล้วตั้งรัฐบาลที่มาจากประชาชน ตลอดจนการปฏิวัติของชาวอเมริกันเพื่อ แยกตัวเป็นอิสระจากอังกฤษใน ค.ศ. 1776 รวมทั้งความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม ด้าน พาณิชกรรมและลัทธิจักรวรรดินิยมได้มีส่วนกระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งที่สำคัญใน ประวัติศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ การเกิดสงครามโลก ซึ่งผลของสงครามก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ความขัดแย้งระหว่างประเทศ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจและ การแย่งชิงทรัพยากรหรือดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุมาจากการแข่งขันทางการ เมืองเพื่อความเป็นใหญ่ในภูมิภาค เช่น นโยบายสร้างฝรั่งเศสในสมัยนโปเลียน นโยบายสร้าง เยอรมนีให้ยิ่งใหญ่ เป็นต้น หรืออาจมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางศาสนา และการเมือง ทางด้านศาสนา เช่น สงครามครูเสดระหว่างศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามใน คริสต์ศตวรรษที่ 13 ทางด้านการเมือง เช่น ความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับ คอมมิวนิสต์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น ทั้งนี้ความขัดแย้งที่สำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ เกิดขึ้นจากการยึดมั่นในอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน จนทำให้เกิดสงครามขึ้น ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War : ค.ศ. 1914-1918) สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) เป็นสงครามที่เริ่มขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 และสิ้นสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งนี้เป็นสงครามที่เกิดจากความ ขัดแย้งของประเทศในทวีปยุโรปและลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 30 ประเทศ สร้างความเสียหายให้แก่มนุษยชาติอย่างรุนแรง จึงเรียกสงครามโลกครั้งนี้อีกอย่างหนึ่งว่า มหาสงคราม (Great War) หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล 81 สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่ 1. ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) ภายหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (Franco-Prussia) ระหว่าง ค.ศ. 1870-1871 ซึ่งเกิดจากการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซีย ผลของสงครามก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ สงครามต้องยอมเสียแคว้นอัลซาซ-ลอเรน (Alsace Larraine) ให้แก่เยอรมนี ทำให้รัฐเยอรมนี สามารถรวมตัวกันและสถาปนาเป็นจักรวรรดิเยอรมัน (German Empire) เป็นมหาอำนาจที่สำคัญ ในยุโรป ขณะเดียวกันก็ทำให้การปกครองในระบบจักรวรรดิฝรั่งเศสต้องสิ้นสุดลงและ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐ รวมทั้งยังส่งผลให้อิตาลีรวมชาติได้สำเร็จ ทำให้เกิด ลัทธิชาตินิยมในฝรั่งเศส เยอรมัน และอิตาลี ในเวลาใกล้เคียงกันก็เกิดลัทธิชาตินิยมในคาบสมุทร บอลข่าน ที่ประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นชาวสลาฟต้องการเป็นอิสระ ต่างก็พยายามที่สร้างชาติของตน ให้เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ 2. การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคม ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยุโรปประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าแบบเสรีได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มหาอำนาจตะวันตกจึง แสวงหาอาณานิคมในแอฟริกาและเอเชีย เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาป้อนโรงงาน อุตสาหกรรมโดยใช้กำลังทหารเข้ายึดครองดินแดนที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ จึงเป็นเหตุให้ เกิดสงครามหลายครั้งเพื่อแย่งชิงดินแดนใน 2 ทวีปดังกล่าว ดินแดนในแอฟริกาได้ตกเป็น อาณานิคมของอังกฤษ ฝรั่งเศส ดัตช์ (เนเธอร์แลนด์) เยอรมนี อิตาลี เบลเยียม และโปรตุเกส ในทวีปเอเชีย อังกฤษครอบครองอินเดีย พม่า มลายู บอร์เนียว ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ฝรั่งเศสครอบครองลาว เขมร ญวน รวมเป็นอินโดจีนฝรั่งเศส ส่วนในตะวันออกกลางเป็น ดินแดนแข่งขันอิทธิพลระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และตุรกี การขัดแย้งดังกล่าว นำไปสู่การสะสมกำลังทหาร กำลังอาวุธยุทโธปกรณ์และมีความหวาดระแวงต่อกันมากขึ้น 3. ความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจต่างๆ ในยุโรปด้านผลประโยชน์ อำนาจทางการ เมืองและเศรษฐกิจ รวมทั้งความมั่นคงของประเทศ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มหาอำนาจใน ยุโรปมีความขัดแย้งกันหลายฝ่าย ได้แก่ 3.1 ความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซีย ฝรั่งเศสมีความขัดแย้งกับปรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพเยอรมนีที่พยายามจะรวมชาติให้สำเร็จ ฝรั่งเศสพยายามกีดกันไม่ให้เยอรมนี รวมชาติ เพราะเกรงว่าจะเป็นภัยต่อฝรั่งเศส จนต้องทำสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ผลคือ ฝรั่งเศส พ่ายแพ้ต้องทำสัญญาสงบศึก ต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสได้ทำสัญญาแฟรงค์เฟิร์ต (Treaty of 82 หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล Frankfurt) ต้องสูญเสียดินแดนอัลซาซ-ลอเรน ที่อุดมด้วยแร่เหล็กและต้องจ่ายค่า ปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนมาก 3.2 ความขัดแย้งระหว่างออสเตรีย-ฮังการีกับสหภาพโซเวียต* ทั้งออสเตรีย- ฮังการีต่างแข่งขันกันขยายอิทธิพลในดินแดนยุโรปตะวันออกและแหลมบอลข่าน แหลมบอลข่าน นี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน แต่ต่อมาจักรวรรดิ ออตโตมันอ่อนแอลง ทำให้สูญเสียดินแดนในครอบครองให้กับชาติยุโรปอื่นๆ เช่น ตามสนธิ สัญญาคาร์โลวิทซ์ (Treaty of Karlowitz : ค.ศ. 1699) ออสเตรียได้ครอบครองฮังการี ทราน- ซิลเวเนีย โครเอเชีย และสลาโวเนีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จักรวรรดิออตโตมันทำสนธิสัญญา กูชุก ไกนาร์จี (Treaty of Kuchuk Kainarji : ค.ศ. 1774) ทำให้สหภาพโซเวียตได้ดินแดนชายฝั่ง ตอนเหนือของทะเลดำและสิทธิในการคุ้มครองคริสต์ศาสนิกชนนิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ในดินแดน ของจักรวรรดิออตโตมัน นอกจากนี้สหภาพโซเวียตยังดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เรียกว่า “อุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟ” (Pan-Slavism) และเข้าแทรกแซงทางการเมือง ทำให้ชนชาติสลาฟ ในคาบสมุทรบอลข่านหวังให้สหภาพโซเวียตช่วยให้ตนเองได้ตั้งรัฐอิสระและปกครองตนเอง นอกจากนี้ภายหลังสนธิสัญญาบูคาเรสต์ (Treaty of Bucharest : ค.ศ. 1812) ได้เป็นผู้ค้ำประกัน เซอร์เบีย ใน ค.ศ. 1875 พวกสลาฟในบอสเนียได้ก่อกบฏขึ้น เพื่อแยกตนเป็นอิสระ ซึ่งถือว่าตนเป็น ผู้พิทักษ์ชาวสลาฟในแหลมบอลข่านและหวังผลประโยชน์ในการใช้แหลมบอลข่านเป็นทางออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จึงประกาศสงครามกับจักรวรรดิออตโตมันเมื่อ ค.ศ. 1877 สงครามยุติลง โดยสหภาพโซเวียตเป็นฝ่ายชนะ จึงสนับสนุนเซอร์เบียในการรวมชาวสลาฟในแหลมบอลข่าน ดังนั้นเมื่อออสเตรีย-ฮังการีใช้เหตุการณ์ที่พวกเติร์กหนุ่มก่อการปฏิวัติ ผนวกดินแดนที่มีชาวสลาฟ 2 แคว้น คือ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเป็นของตน เพื่อป้องกันมิให้ขบวนการรวมกลุ่มสลาฟซึ่ง มีเซอร์เบียเป็นผู้นำดำเนินการเคลื่อนไหวกับพวกสลาฟในบอสเนีย เซอร์เบียและสหภาพโซเวียต จึงยุยงพวกสลาฟให้ก่อกบฏขึ้น จึงเกิดวิกฤตการณ์บอสเนียขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1908 ภายหลังการเจรจา วิกฤตการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง แม้ปราศจากสงครามแต่ก็ก่อความร้าวฉานระหว่างเซอร์เบียและ สหภาพโซเวียตกับออสเตรีย-ฮังการี *สหภาพโซเวียตหรือประเทศรัสเซียในปัจจุบัน เดิมนั้นสหภาพโซเวียตประกอบด้วยสาธารณรัฐต่างๆ 15 สาธารณรัฐ แต่ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะสมัยประธานาธิบดีนีกีตา ครุชชอฟ สหภาพโซเวียตยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ ระดับหนึ่งในความเชื่อทางศาสนา ทำให้ประชาชนหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรมภายในสหภาพโซเวียตมีความผูกพันกันมากขึ้น แนวคิดชาตินิยมจึงเกิดขึ้นและมีส่วนทำให้ความจงรักภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มลดน้อยลงจนกลายเป็นความต้องการที่จะ ปกครองตนเอง ต่อมาเมื่อประธานาธิบดีมิฮาอิล กอร์บาชอฟของสหภาพโซเวียตมีนโยบายประเทศให้เป็นประชาธิปไตย ทำให้เกิด กระแสชาตินิยมและความขัดแย้งทางการเมืองภายในสาธารณรัฐต่างๆ เช่น สาธารณรัฐบอลติก ซึ่งประกอบด้วยเอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต ทำให้สาธารณรัฐอื่นๆ ก็เริ่มเคลื่อนไหวแยกตัวออกมาด้วย ความเป็นเอกภาพทางการเมืองของสหภาพโซเวียตจึงแตกแยกและนำไปสู่การสิ้นสุดของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 ดังนั้นหาก กล่าวถึงประเทศรัศเซียก่อน ค.ศ. 1991 จะใช้ชื่อว่า สหภาพโซเวียต แต่หากหลัง ค.ศ. 1991 จะใช้ชื่อว่า รัสเซีย หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล 83 3.3 ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับเยอรมนีอังกฤษไม่พอใจเยอรมนีที่เสริมสร้าง ความเข้มแข็งทางทหารเพิ่มขึ้นตลอดเวลา รวมทั้งการแข่งขันด้านการค้า ทำให้อังกฤษเห็นว่า ความเข้มแข็งของเยอรมนีเป็นภัยคุกคามอังกฤษ 4. มหาอำนาจในยุโรปแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย ความขัดแย้งกันทั้งทางด้านการแสวงหา อาณานิคม ความขัดแย้งทางการเมืองและเศรษฐกิจทำให้ชาติมหาอำนาจแสวงหาพันธมิตรไว้เป็น พวก แบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มประเทศสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี กับกลุ่มประเทศความตกลงไตรภาคี ประกอบด้วยฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และอังกฤษ มหาอำนาจทั้งสองฝ่ายต่างไม่ไว้วางใจกัน และแข่งขันกันเพื่อให้ ประเทศอื่นๆ เข้าเป็นพันธมิตรของตน เมื่อทั้งสองฝ่ายเผชิญวิกฤตการณ์ต่างๆ ก็มักไม่ยอมกัน ทำให้กรณีพิพาทระหว่างประเทศขยายตัวเป็นสงครามโลก การรวมกลุ่มของมหาอำนาจในยุโรป เริ่มเมื่อเยอรมนีกับออสเตรีย-ฮังการีได้ลงนามใน สนธิสัญญาพันธไมตรีทวิภาคี (Dual Alliance : ค.ศ. 1869) เพราะออสเตรีย-ฮังการีคาดว่าอาจ ต้องทำสัญญากับสหภาพโซเวียต เนื่องมาจากการแข่งกันขยายอำนาจในคาบสมุทรบอลข่าน ส่วน เยอรมนีต้องการหาพันธมิตรหากเกิดสงครามกับฝรั่งเศสหรือสหภาพโซเวียต โดยทั้งคู่สัญญาว่าจะ ช่วยเหลือกันและกันถ้าถูกสหภาพโซเวียตโจมตี ต่อมาสัญญาฉบับนี้ได้ขยายเป็นสนธิสัญญาพันธ ไมตรีไตรภาคี (Triple Alliances : ค.ศ. 1882) โดยรวมอิตาลีเข้ามาด้วย เพราะอิตาลีเกรงว่าจะ ถูกฝรั่งเศสโจมตี กลุ่มพันธมิตรนี้ถูกเรียกว่า มหาอำนาจกลาง (Central Powers) เพราะทั้ง เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ตั้งอยู่ตอนกลางของทวีปยุโรป อีกฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มประเทศความตกลงไตรภาคี คือ สหภาพโซเวียตกับฝรั่งเศสได้ลงนาม ในอนุสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร (Military Convention : ค.ศ. 1892) เพราะสหภาพ โซเวียตกำลังแข่งอำนาจกับออสเตรีย-ฮังการี และหวั่นเกรงว่าเยอรมนีจะเข้าข้างออสเตรีย- ฮังการี อนุสัญญานี้ต่อมาได้กลายเป็นสนธิสัญญาพันธไมตรีฝรั่งเศส-รัสเซีย (Franco-Russian Alliance : ค.ศ. 1894) โดยตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือทางทหารต่อกันในกรณีที่ถูกเยอรมนีและ พันธมิตรโจมตี ทางด้านอังกฤษ ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบอยู่ อย่างโดดเดี่ยว (Splendid Isolation) ไม่ข้องเกี่ยวกับระบบพันธไมตรีของประเทศมหาอำนาจ แต่ ภายหลังสงครามบัวร์ (Boer War : ค.ศ. 1899-1902) อังกฤษถูกประนามจากประเทศมหาอำนาจ รวมทั้งไม่พอใจการเสริมกำลังกองทัพและการขยายแสนยานุภาพทางทะเลของเยอรมนี ในคริสต์- ศตวรรษที่ 20 อังกฤษจึงดำเนินนโยบายและแสวงหาพันธมิตร โดยทำความตกลงฉันท์มิตร (Entente Condial) กับฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1904 และทำการตกลงอังกฤษ-รัสเซีย (Anglo-Russian Entente : ค.ศ. 1907) และต่อมากลายเป็น “ความตกลงไตรภาคี” (Triple Entente) ระหว่าง 84 หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย เพื่อแก้ไขกรณีพิพาทในเรื่องอาณานิคมและการแย่งผลประโยชน์ ระหว่างกันในกลุ่มพันธมิตรนี้ ถูกเรียกว่า ฝ่ายมหาอำนาจสัมพันธมิตร (Allied Powers) ใน สงครามโลกครั้งที่ 1 นอกจากนี้การที่ไม่มีองค์การระหว่างประเทศทำหน้าที่แก้ไขกรณีพิพาทและความขัดแย้ง ระหว่างประเทศ ทำให้ทุกฝ่ายใช้สงครามในการแก้ปัญหา ชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 1 วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 อาร์คดุ๊กฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Archduke Francis Ferdinand) รัชทายาทของออสเตรีย-ฮังการี พร้อมเจ้าหญิงโซฟี (Sophee) พระชายา ขณะเสด็จ ประพาสเมืองซาราเยโว (Sarajevo) นครหลวงของบอสเนียได้ถูกนายกัฟริโล ปรินซิบ นักศึกษา ชาตินิยมชาวเซิร์บหัวรุนแรงลอบปลงพระชนม์เพื่อแก้แค้นที่จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเข้ายึด ครองบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินาและขัดขวางการรวมตัวของชาวสลาฟกับเซอร์เบีย ออสเตรีย- ฮังการีจึงใช้เหตุการณ์การลอบปลงพระชนม์ดังกล่าวอ้างเป็นสาเหตุเพื่อลงโทษเซอร์เบีย ซึ่งถูก สงสัยว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ จึงยื่นคำขาดให้เซอร์เบียรับผิดชอบ เมื่อเซอร์เบียปฏิเสธ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบียเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 และบุกโจม ตีเซอร์เบียทันทีเพราะเห็นว่าเซอร์เบียคอยปลุกปั่นและสนับสนุนชาวสลาฟให้แข็งข้อการปกครอง ของออสเตรีย-ฮังการี อาร์คดุ๊กฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ สหภาพโซเวียตในฐานะผู้พิทักษ์ชาวสลาฟก็ระดมพลเพื่อเตรียมช่วยเหลือเซอร์เบียทำ สงครามกับออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ทั้งฝรั่งเศสก็ปฏิเสธที่จะวางตนเป็น กลาง เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914 และ ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1914 และก็ได้ส่งกองทัพบุกเบลเยียมซึ่ง เป็นประเทศที่ได้รับการประกันความเป็นกลางทันที เพื่อบุกฝรั่งเศสตามแผนชไลเฟิน (Schlieffen หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล 85 Plan : แผนการรบของเยอรมนีด้วยวิธีรบรุกอย่างรวดเร็ว เพื่อจะพิชิตฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และอังกฤษ ตามลำดับ) อังกฤษจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 สงครามระหว่างออสเตรีย-ฮังการีกับเซอร์เบียจึงได้ขยายตัวเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามขยายออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายมหาอำนาจพันธมิตร (The Allied Powers) มี อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต เซอร์เบีย เบลเยียม รวมทั้งอิตาลีที่เปลี่ยนใจเข้ากับฝ่าย มหาอำนาจพันธมิตรเพราะต้องการที่จะผนวกดินแดนของออสเตรีย-ฮังการีที่มีชาวอิตาลีอาศัยอยู่ จำนวนมาก และชาติอื่นๆ รวมทั้งญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ที่เมื่อเริ่มสงครามประกาศนโยบายต่าง ประเทศแบบเป็นกลาง จนกระทั่งเมื่อ ค.ศ. 1917 จึงเข้าข้างฝ่ายมหาอำนาจพันธมิตร และอีกฝ่าย คือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (The Central Powers) ที่มีเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี และ บัลแกเรีย การรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการรบทั้งทางอากาศ ทางบก และทางเรือ ประเทศคู่ สงครามต่างประดิษฐ์อาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ที่มีอำนาจการทำลายสูงมาใช้ เช่น อังกฤษเป็นชาติ แรกที่ประดิษฐ์เรือดำน้ำ ที่เรียกว่า “เรือยู” (U-Boat) เป็นต้น “เรือยู” เป็นเรือดำน้ำที่ผลิตโดยประเทศอังกฤษในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ปลายสงครามเยอรมนีเริ่มพ่ายแพ้ในการรบ ทหารและประชาชนชาวเยอรมันได้ก่อการ ปฏิวัติ คณะรัฐบาลถูกยุบ กษัตริย์เยอรมัน (ไกเซอร์วิลเลียมที่ 2) ทรงสละราชสมบัติแล้วเสด็จไป ประทับที่เนเธอร์แลนด์ จักรวรรดิเยอรมนีล่มสลายลงและ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ 1918 ผู้นำคณะรัฐบาลชุดใหม่ขอสงบ ศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตรและลงนามในสัญญาสงบศึก สงครามโลกครั้งที่ 1 จึงยุติลง (เมื่อใน ค.ศ. 1918) พระเจ้าไกเซอร์วิลเลียม 86 หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 มีดังนี้ 1. เกิดความเสียหายด้านชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมหาศาล มีทหารเสียชีวิตประมาณ 13 ล้านคน บาดเจ็บมากกว่า 20 ล้านคน ภายหลังสงครามประชาชนในยุโรปต้องเผชิญกับโรค ระบาด ความอดอยาก เศรษฐกิจตกต่ำลง อุตสาหกรรมและการค้าถูกทำลาย 2. เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านมหาอำนาจในยุโรป ดุลอำนาจในยุโรปเปลี่ยนไป จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมันสลายตัว ดินแดนส่วนใหญ่ถูกแบ่งแยกให้ ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรแม้จะชนะสงครามก็อ่อนแอลงและเสียหาย อย่างหนักในระหว่างสงคราม ทำให้เกิดมหาอำนาจใหม่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้นใน การเมืองโลก ญี่ปุ่นกลายเป็นมหาอำนาจในเอเชียและได้ครอบครองอาณานิคมต่างๆ ของเยอรมนี ในเอเชีย 3. เกิดประเทศใหม่ ดินแดนของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีแบ่งแยกออกเป็นประเทศ ออสเตรียและประเทศฮังการี บางส่วนแยกเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ ประเทศเชคโกสโลวะเกียและ ยูโกสลาเวียจักรวรรดิรัสเซียแยกเป็นประเทศเอกราช ได้แก่ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิ ทัวเนีย จักรวรรดิออตโตมันแยกเป็นประเทศแอลเบเนีย 4. เกิดการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้อาวุธยุทโธปกรณ์เช่น ปืนใหญ่ ปืนกล แก๊สพิษ รถถัง เรือดำน้ำ โดยเฉพาะเครื่องบินประเภทต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์เครื่องบินโดยสารใน เวลาต่อมา 5. เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรีย เปลี่ยนการ ปกครองเป็นสาธารณรัฐ เรียกว่า “สาธารณรัฐออสเตรียที่ 1” (The First Austrian Republic) ส่วนเยอรมนี เปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ ซึ่งต่อมาเรียกว่า “สาธารณรัฐไวมาร์” (The Weimar Republic) สำหรับสหภาพโซเวียตเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม โดยเปลี่ยนชื่อ ประเทศเป็น “สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต” หรือสหภาพโซเวียต (The Union of Soviet Socialist Republics : U.S.S.R) เมื่อ ค.ศ. 1918 เนื่องจากการทำสงครามยาวนานทำให้ เกิดภาวะขาดแคลนต่างๆ และรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขได้ ประกอบกับการพ่ายแพ้ในการรบอยู่ เนืองๆ ชาวรัสเซียจึงก่อการปฏิวัติขึ้นก่อนสงครามโลกยุติลง กล่าวได้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็น ตัวเร่งที่ทำให้เกิดรัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แห่งแรกของโลก อียิปต์ ปาเลสไตน์ จอร์แดน และอิรัก เปลี่ยนเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ส่วนซีเรียและ เลบานอนอยู่ในอารักขาของฝรั่งเศส หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล 87 6. ประเทศผู้แพ้สงครามเมื่อถูกลงโทษด้วยการเสียดินแดน สูญเสียแหล่งทรัพยากร และต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอย่างหนัก สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งว่าไม่ได้รับความเป็น ธรรม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นอีก 7. ประเทศทั้งหลายตระหนักถึงความหายนะของสงคราม และพยายามที่จะหาทางไม่ ให้เกิดสงครามอีก ผู้นำแต่ละประเทศต่างต้องการเจรจาทำสัญญาสันติภาพ โดยจัดตั้งองค์การ ระหว่างประเทศ “สันนิบาตชาติ” ขึ้น ภายหลังการเจรจาทำสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ที่พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1919 สงครามโลกครั้งที่ 2 (Second World War : ค.ศ.1939-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น