ยินดีต้อนรับเข้าสู่Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 20 อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก

อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก

อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก

            วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่างๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย 
            โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง

            1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทย มีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย  เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม
            สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
1.  ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น

2.  ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

3.  ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา

4.  ด้านวรรณกรรม  ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น

5.  ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา

6.  ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กะทะ การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น

            2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน

            ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก

2.  ด้ารการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ 4  ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 3.  ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน 
 ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  “บางกอกรีคอร์เดอร์”  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์ โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก

4.  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา

 5.  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น

สัปดาห์ที่ 19 การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ 


            หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบจลาจลในปลายสมัยธนบุรีเสร็จสิ้นแล้ว  จึงได้ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี  และขึ้นครองราชย์ในฐานะปฐมกษัตริย์ แ่ห่งราชวงศ์จักรี  ทรงพระนาว่า  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

            สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มายังฝั่งกรุงเทพฯ  ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  เมื่อ พ.ศ.  2325

สาเหตุที่ทรงย้ายราชธานี  มีดังนี้  คือ

            1.  พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ  มีวัดขนาบทั้ง  2  ข้าง  (คือวัดท้ายตลาด หรือวัดโมลีโลกยาราม  และวัดอรุณราชวราราม)

            2.  ทรงไม่มีพระประสงค์จะให้ราชธานีแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยากั้น

            3.  พื้นที่นทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม  สามารถขยายเมืองออกได้อย่างกว้างขวาง

            4.  ฝั่งธนบุรีพื้นที่เป็นท้องคุ้ง  น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายได้ง่าย

            ในการสร้างพระบรมมหาราชวัง  โปรดให้สร้างวัดขึ้นในพระบรมมหาราชวังด้วย  คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  หรือวัดพระแก้ว  แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน

กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

            กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  หมายถึง  ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัชกาลที่ 1  ถึง  รัชกาลที่  3  ซึ่งนับว่าเป็นระยะเชื่อมต่อระหว่างประวัติศาสตร์ไทยยุคเก่า มาสู่การปฏิรูป และพัฒนาประเทศ ตามแบบอารยธรรมตะวันตกในยุคปัจจุบัน

ความเจริญในด้านต่าง ๆ  ในสมัยรัชกาลที่  1  ถึงรัชกาลที่  3  มีดังนี้

            การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ถือตามแบบสมัยอยุธยา  โดยมีพระมหาษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด

การปกครองส่วนกลาง มีลักษณะดังนี้  คือ

            มีอัครมหาเสนาบดี  2  ตำแหน่ง  คือ
                สมุหกลาโหม  เป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร  และปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
                สมุหนายก  เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน และปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
                มีจตุสดมภ์ทั้ง  4  ฝ่าย  ภายใต้การดูแลของสมุหนายก  ได้แก่
                    เสนาบดีกรมเมือง
                    เสนาบดีกรมวัง
                    เสนาบดีกรมคลัง
                    เสนาบดีกรมนา

การปกครองส่วนภูมิภาค  แบ่งหัวเมืองออกเป็น  3  ประเภท  คือ

            หัวเมืองชั้นใน  หรือเมืองจัตวา
            หัวเมืองชั้นนอก
            หัวเมืองประเทศราช  ถ้าเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลราชะานี จะต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้เมืองหลวง  3  ปีต่อครั้ง  ส่วนเมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี ให้ส่งมาปีละครั้ง

            กฎหมายไทยในสมัยนี้ ถือตามแบบอย่างอยุธยาและธนบุรี  แต่ได้มีการแก้ไขตรวจสอบขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่า  กฎหมายตราสามดวง คือตราราชสีห์ ตราคชสีห์ และตราบัวแก้ว ใช้สืบต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5

            การศึกษามีศูนย์กลางอยู่ที่วัด  วัง  และตำหนักเจ้านาย  รัชกาลที่  3 โปรดให้จารึก ตำราการแพทย์แผนโบราณ ไว้ที่วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งได้ชื่อว่า  เป็นวัดมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย

            การศาสนา  การทำนุบำรุงศาสนา จะมีการทำสังคายนา ชำระพระไตรปิฎก  การออกกฎหมายสำหรับพระสงฆ์ และการสร้างวัดสำคัญ  เช่น วัดพระศรีรัตนศาดาราม  วัดสุทัศน์เทพวราราม  และวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม  เป็นต้น  
            ในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดให้ส่งทูตไปศึกษาความเป็นไปของพระ พุทธศาสนาในลังกา และได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากลังกากลับมา 
            ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดเป็นจำนวนมาก  จนนับได้ว่า เป็นสมัยที่มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก

            ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ได้ขยายตัวมากขึ้น  เนื่องจากอยู่ในยุคแห่งการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม และลัทธิจักรวรรดินิยม  ชาติตะวันตกที่สำคัญ ที่เข้ามาติดต่อกับไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้แก่โปรตุเกส เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อ  
            ชาวโปรตุเกส ชื่อ อันโตนิโอ  เอด วิเสนท์ (องตนวีเสน) เป็นผู้อัญเชิญสาส์นเข้ามา ในรัชกาลที่ 1  
            ในสมัยรัชกาลที่ 2 ไทยได้ส่งเรือไปค้าขาย กับโปรตุเกส ที่มาเก๊า  และโปรตุเกสได้ขอเข้ามาตั้งสถานกงสุลในประเทศได้สำเร็จเป็นประเทศแรก อังกฤษ  พยายามทำไมตรีกับไทย เพื่อหวังประโยชน์ในดินแดนมลายู   

            ในสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษ ได้มาขอความช่วยเหลือให้ไทยไปช่วยรบกับพม่า  ไทยกับอังกฤษ ได้ทำสนธิสัญญา โดยสมบูรณ์เป็นฉบับแรก ในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ สนธิสัญญาเบอร์นี ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369  โดยมีสาระสำคัญ คือ  ไทยกับอังกฤษ จะมีไมตรีจิตต่อกัน  อำนวยความสะดวกในด้านการค้าซึ่งกันและกัน และเรือสินค้า ที่เข้ามาค้าขาย ต้องเสียภาษีเบิกร่อง หรือภาษีปากเรือ แทนการเก็บภาษีตามแบบเดิม

กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 
จนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475


            หัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทยตอนนี้ อยู่ที่การทำ สนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชการที่ 4 ที่มาและสาระสำคัญของการทำสนธิสัญญาเบาริง มีดังนี้

            ในสมัยรัชการที่ 4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงนโยบาย ต่างประเทศ มาเป็นการคบค้ากับชาวตะวันตก  เพื่อความอยู่รอดของชาติ  เนื่องจากทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังคุกคามประเทศต่าง ๆ  อยู่ในขณะนั้น
            จุดเร่ิมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ คือ การทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398  โดยพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น  เบาริง เป็นราชทูตเข้ามาเจรจา

สาระสำคัญของสนธิสัญเบาริง มีดังนี้

  1. อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย
  2. คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้
  3. คนอังกฤษสามารถสร้างวัด และเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้
  4. เก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3
  5. พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทยมีสิทธิค้าขายกันได้โดยเสรี
  6. สินค้าต้องห้าม ได้แก่่ ข้าว  ปลา  เกลือ
  7. ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ  ที่มีผลประโยชน์เหนือประเทศ อังกฤษ  จะต้องทำให้อังกฤษด้วย
  8. สนธิสัญญานี้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้  จนกว่าจะใช้แล้ว  10  ปี  และในการแก้ไข ต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย และต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี

ผลของสนธิสัญญาเบาริง

ผลดี
  1. รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
  2. การค้าขยายตัวมากขึ้น เปลี่ยนแปลงการค้าเป็นแบบเสรี
  3. อารยธรรมตะวันตก เข้ามาแพร่หลาย  สามารถนำมาปรับปรุงบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้ามาขึ้น

ผลเสีย
  1. ไทยเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษ และคนในบังคับอังกฤษ
  2. อังกฤษ เป็นชาติที่ได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง
  3. อังกฤษ เป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงไม่ยอมทำการแก้ไข

            ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้สภาพสังคมไทย เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  เพื่อนำประเทศให้เจริญก้าวหน้า ตามแบบอารยธรรมตะวันตก  การเปลี่ยนแปลง   ในด้านต่าง ๆ   มีดังนี้

1.ด้านการปกครอง  
            ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่าง เพื่อให้ราษฎร มีโอกาสใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์  คือ เปิดโอกาสให้ราษฎร เข้าเฝ้าได้โดยสะดวก  ให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ในขณะที่ทรงเสด็จพระราชดำเนิน  

            ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ครั้งสำคัญ  โดยแบ่งเป็น  2  ระยะ  คือ  การปรับปรุงในระยะแรก ให้ตั้งสภา 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) กับการปรับปรุงการปกครอง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2435)  ซึ่งนับว่า เป็นการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยมีลักษณะ คือ  การปกครองส่วนกลาง  โปรดให้ยกเลิกการปกครอง แบบจตุสดมภ์ และ จัดแบ่งหน่วยราชการเป็นกรมต่าง ๆ  12 กรม (กะรทรวง) มีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง  การปกครองส่วนภูมิภาค  ทรงยกเลิก การจัดหัวเมืองที่แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก  โท  ตรี  และจัตวา เปลี่ยนการปกครองเป็น เทศาภิบาล  ทรงโปรดให้รวมเมืองหลายเมืองเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครอง ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย  กับทรงแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด (เมือง) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน  และการปกครองส่วนท้องถิ่น  เริ่มจัดการทดลองแบบ สุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก

2. การปฏิรูปกฎหมายและการศาล  

            ในรัชกาลที่ 4  ทรงตรากฎหมายขึ้นหลายฉบับ  เพื่อให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพบ้านเมือง  เช่น  กฎหมายเกี่ยวกับมรดก  สินสมรส  ฯลฯ  
            ในสมัยรัชกาลที่ 5  การปฏิรูปกฎหมายและการศาลครั้งสำคัญ  มีในสมัยรัชกาลที่  5  ดดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  (พระบิดาแห่งกฎหมาย)  เป็นกำลังสำคัญ  ผลการปฏิรูปกฎหมายและการศาล  มีดังนี้
  1. ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมาย
  2. ตรากฎหมายขึ้นตามแบบอารยประเทศ  ฉบับใหม่ และทันสมัยที่สุด คือ กฎหมาย ลักษณะอาญา
  3. จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น
            ในสมัยรัชกาลที่  6  โปรดให้ปฏิรูปเพิ่มเติมดังนี้
  1. ตั้งกรมร่างกฎหมาย
  2. ร่างกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  3. ทรงดำเนินการเพื่อหาทางแก้ไขสิทธิสภาพนอกอาณาเขต  เช่น  การส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่  1

3. ด้านเศรษฐกิจ  
            ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว  การค้าของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น มาก  ทำให้มีการปรับปรุงด้านเศรษฐกิจ  เช่น  
            ในรัชกาลที่ 4  ทรงเปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญ และขุดคลอง  ตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย  
            ในสมัยรัชกาลที่  5  เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยม  ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน  ให้ใช้เหรียญบาท  สลึง  และเหรียญสตางค์แทนเงินแบบเดิม  มีการจัดตั้งธนาคารของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรก  คือ  แบางก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์)  
            ในสมัยรัชกาลที่  6  โปรดให้ตั้งคลังออมสินขึ้น (ปัจจุบันคือ ธนาคารออสนิ)

4.  ด้านการศึกษา  
            ผู้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาของไทย ตามแบบสมัยใหม่ คือ คณะมิชชันนารีอเมริกัน  ซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3  และต่อมา
            ในสมัยรัชกาลที่ 4  ก็ได้ตั้งโรงเรียนชายขึ้นที่ตำบลสำเหร่  ซึ่งปัจจุบัน คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย  ส่วนโรงเรียนสตรีแห่งแรกในไทย คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง  (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนวัฒนาวิทยา)  
            ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญขึ้น  เืพื่อสร้างคนที่มีความรู้ให้เข้ารับราชการ เพื่อพัฒนาประเทศ  ทั้งนี้ได้มีโรงเรียนประเภทต่าง ๆ  เกิดขึ้น คือ  โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก  โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และโรงเรียนวัดมหรรณพาราม (โรงเรียนสำหรับราษฎรแห่งแรก)  นอกจากนี้ ยังได้โปรดให้จัดทำแบบเรียนขึ้น ซึ่งเรียบเรียงโดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)
            ในคราวที่ปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้น เพื่อรับผิดชอบในด้านการศึกษา  และยังได้พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงอีกด้วย  ส่วนการปรับปรุงการศึกษาที่สำคัญ                ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีดังนี้
            ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นใช้ในปี พ.ศ. 2464 ให้เรียกเก็บเงิน “ศึกษาพลี” จากราษฎร เพื่อบำรุงการศึกษาในท้องถิ่น ตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นเป็นแห่งแรก คือ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

5.  ด้านศาสนา  
            ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติ ลักษณะการปกครองสงฆ์เป็นฉบับแรก  โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาสูงสุด  มีมหาเถรสมาคมให้คำปรึกษา  โปรดให้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง  เช่น  วัดโสมนัสวิหาร  วัดราชประดิษฐ์  วัดปทุมวนาราม 
            ในสมัยรัชกาลที่  5  ทรงมีพระกรณียกิจที่สำคัญ คือ โปรดให้จัดตั้งสถานศึกษาสำหรับพระสงฆ์ขึ้น 2 แห่ง (ซึ่งต่อมา เป็นมหาวิทยาลัยของสงฆ์ หรือมาหวิทยาลัยพระพุทธศาสนา มีการศึกษาถึงระดับปริญญาเอก) คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยา อยู่ที่วัดมหาธาตุฯ เป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงการณราชวยิทยาลัย  ศึกษาได้ทุกนิกาย  ทั้งพระสงฆ์ และฆราวาส ทั่วโลก
            มหามกุฏราชวิทยาลัย  อยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร  เป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย (ปัจจับันคือ มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย  การให้บริการด้านการศึกษา  เช่นเดียวมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

6.  ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี  
            ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า  ทรงให้เสรีภาพประชาชน ในการนับถือศาสนาและประกอบอาชีพ  โปรดให้สตรีได้ยกฐานให้สูงขึ้น  
            ในสมัยรัชกาลที่  5  โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวมเสื้อราชปะแตก และสวมหมวกอย่างยุโรป  ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบ ตามแบบตะวันตก  โปรดให้ผู้ชายในราชสำนัก ไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะแบบฝรั่ง  โปรดให้ผู้หญิงเลิกไว้ผมปีก  ให้ไว้ผมตัดยาว  ที่เรียกว่า “ทรงดอกกระุุทุ่ม”  ทรงแก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์  โดยยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล้วโปรดเกล้าฯ  ให้แต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ขึ้น  ทรงเลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้า และให้ยืนเข้าเฝ้าแทน  ยกเลิกการโกนผม เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต  ยกเลิกการไต่สวนคดีแบบจารีตนครบาล  และที่สำคัญที่สุด  ที่พระองค์ทรงได้พระราชสมัญญานาม ว่่า “พระปิยมหาราช”  ซึ่งแปลว่า มหาราชที่ทรงเป็นที่รักของประชาชน  คือการยกเลิกระบบไพร่ และระบบทาส  
            ในสมัยรัชกาลที่ 6  ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัตินามกสุล  โปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการ  แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)  เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการ ให้สอดคล้องกับสากลนิยม  โปรดให้กำหนดคำนำหน้าชื่อเด็กหญิง เด็กชาย นางสาว และนาง  เปลียนแปลงธงประจำชาติ จากธงรูปช้างเผือก มาเป็นธงไตรรงค์  ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ตามแบบประเทศยุโรป

7.  ด้านศิลปกรรม  
            ในสมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการก่อสร้างแบบ ตะวันตก  เช่น  พระราชวังสราญรมย์  พระนครคีรีที่เพชรบุรี  ด้านจิตรกรรม  ได้แก่  ภาพเขียนฝาผนังในพระอุโบสถ และวิหารวัดบวรนิเวศวิหาร  จิตรกรเอกในสมัยนี้  ได้แก่  ขรัวอินโข่ง  ซึ่งเริ่มเขียนภาพแบบสามมิติ ตามแบบตะวันตก เป็นบุคคลแรก  
            ในสมัยรัชกาลที่ 5  สถาปัตยกรรม ได้รับอิทธิพล แบบตะวันตกมากขึ้น  ประติมากรรม  ได้แก่  พระพุทธชินจำลอง  วัดเบญจมบพิตร  พระบรมรูปหล่อพระมหากษัตริย์ 4 รัชกาล  พระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พระราชพิธีสิบสองเดือน  พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน เงาะป่า 
            ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการก่อสร้างตามแบบไทย ได้แก่ หอประชุมโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย  อนุสาวรีย์ทหารอาสา  การก่อสร้างแบบตะวันตก เช่น พระราชวังสนามจันทร์ พระราชวังพญาไท  ด้านจิตรกรรม  ได้แก่ ภาพเขียนที่ฝาผนังวิหารทิศ ที่นครปฐม  การก่อสร้างพระพุทธรูป  เช่น  พระแก้วมรกตน้อย  แม่พระธรณีบีบมวยผม ฯลฯ  ด้านดนตรี และการแสดงละคร มีความรุ่งเรืองมาก มีการแสดงละครเพิ่มขึ้น หลายประเภท  เช่น ละครร้อย ละครพูด  ด้านวรรณคดี  ได้มีพระราชนิพนหลายเรื่อง เช่น  เวนิสวานิช  พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร  ฯลฯ  
            ในรัชสมัยนี้ ได้มีการก่อตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้นด้วย

สัปดาหืที่ 18 เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย

เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย

สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง

            การปรับปรุงทางด้านสงคมในสมัยรัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงเวลาที่ชาวไทย เริ่มมีการปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีทางตะวันตก ภายหลังจากที่ไทยทาสนธิสัญญาทางการค้ากับชาวตะวันตก

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สาคัญในสมัยรัชกาลที่ 4

อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเข้ารับราชการ ให้เสรีภาพแก่สตรีที่บรรลุนิติภาวะในการเลือกคู่ครองโดยพ่อแม่จะบังคับไม่ได้ ห้ามพ่อแม่ขายบุตรเป็นทาส ห้ามสามีขายภรรยาเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ ให้นางแอนนา เลียวโนเวนส์ ชาวอังกฤษ ไปสอนภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรสและธิดา โปรดให้สตรีคณะมิชชันนารีผู้สอนศาสนาคริสต์เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้สตรีในราชสานัก

การปรับปรุงประเพณีและวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 4
1. ประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า
2. โปรดให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้น เพื่อเป็นของที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน เป็นบาเหน็จรางวัลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการไทย และชาวต่างประเทศ
3. ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้าพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงร่วมเสวยด้วย
4. ฟื้นฟูประเพณีการตีกลองร้องฎีกา เพื่อให้ทราบถึงทุกข์สุขของราษฎรโดยจะเสด็จ
ออกมารับฎีกาด้วยพระองค์เอง ทุกวันโกณ เดือนละ 4 ครั้ง
5. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกนับถือศาสนา
6. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกประกอบอาชีพ
7. กาหนดให้ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เป็นวัดประจารัชกาล ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร 
8. รัชกาลที่ 4 ทรงก่อตั้งธรรมยุตินิกาย เมื่อครั้งยังผนวชที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 3

การปรับปรุงด้านสาธารณสุขสมัยรัชกาลที่ 4

            ด้านการสุขาภิบาล สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการสุขาภิบาลตามคาแนะนาของบาทหลวงมิชชันนารีบ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด

            การปรับปรุงสังคมในสมัยรัชกาลที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) การ
ปฏิรูปทางสังคมที่สาคัญที่สุดคือ การเลิกทาส

            ทาส เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะทางสังคมต่าที่สุด สมัยรัตนโกสินทร์มีทาสอยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของประชากร

ขั้นตอนการเลิกทาสของรัชกาลที่ 5

            1. ทรงตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท พุทธศักราช 2417 ความว่า
“ลูกทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่รัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นต้นมา ให้มีค่าตัวใหม่และ จะมีค่าตัวเมื่ออายุ 8 ปี ชายจะมีค่าตัวสูงสุด 32 บาท หญิงจะมีค่าตัวสูงสุด 28 บาท หลังจากนั้นแล้วค่าตัวจะลดลงทุกทีจนหมดค่าตัวเมื่ออายุ 21 ปี”
            2. ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซื้อลูกทาสที่อยู่กับนายเงินเพียงคนเดียวมา 25 ปี ให้เป็นอิสระ ไถ่ทาสได้ทั้งหมด 44 คน
            3. ในพ.ศ.2443 ทรงออกพระราชบัญญัติทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ร.ศ.119 ขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อให้ทาสในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลาปาง ลาพูน แพร่ น่าน มีโอกาสไถ่ถอนเป็นอิสระได้ง่ายขึ้น และเป็นอิสระได้เมื่อมีอายุ 60 ปี
            4. ใน พ.ศ.2447 ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลบูรพา ร.ศ.123 ขึ้น ให้นายเงินลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท ทุกเดือนไปจนกว่าจะหมดค่าตัว ส่วนบรรดาลูกทาสให้นับเป็นไททั้งหมด
            5. ในพ.ศ.2448 ทรงตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก ร.ศ.124 กาหนดให้
                 5.1 ให้ลูกทาสทุกระดับอายุเป็นไทโดยทันทีทั้งหมด
                5.2 ให้ทาสชนิดอื่นๆ ได้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท ทุกเดือนไปจนหมดค่าตัว

การเลิกระบบไพร่

            การเลิกระบบไพร่ เป็นไปอย่างเป็นขั้นตอน คือ ให้ไพร่หลวงเสียเงินแทนการเข้าเวรรับราชการ
ออกพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหาร แทนโดย กาหนดให้ชายฉกรรจ์ทุกคนที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์จะต้องเข้ารับราชการทหาร (ต่อมาเปลี่ยนเป็น 20 ปี)

การปรับปรุงประเพณีวัฒนธรรม สมัยรัชกาลที่ 5

            1. การเปลี่ยนแปลงประเพณีการสืบสันตติวงศ์  รัชกาลที่ 5 โปรดให้ยกเลิกตาแหน่ง วังหน้า (พระมหาอุปราช) และทรงสถาปนาตาแหน่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร แทน
                - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารองค์แรก คือ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศแต่ทรงสิ้นพระชนม์ก่อน จึงมีการสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมารแทน
            2. การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการแต่งกาย ทรงผม
                - รัชกาลที่ 5 โปรดให้ชายไทยในราชสานัก เลิกไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนเป็นไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะอย่างฝรั่ง ผู้หญิงโปรดให้เลิกไว้ผมปีก ให้ไว้ผมยาว ทรงดอกกระทุ่ม
                - รัชกาลที่ 5 โปรดให้ชายไทยในราชสานักนุ่งผ้าม่วงสีต่างๆสวมเสื้อราชปะแตน สวมหมวกอย่างยุโรป
                - รัชกาลที่ 5 โปรดให้ข้าราชการทุกกรมกองแต่งเครื่องแบบ นุ่งกางเกงอย่างทหารในยุโรปแทนโจงกระเบน
                - การแต่งกายสตรีเริ่มเปลี่ยนแปลงหลังจากรัชกาลที่ 5 กลับจากประพาสยุโรป ครั้งที่2 โดยสตรีไทยนิยมสวมเสื้อของอังกฤษ คือ เสื้อคอตั้งแขนยาว ต้นแขนพองคล้ายขาหมูแฮม
 
            3. การเปลี่ยนแปลงประเพณีการเข้าเฝ้า
            รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ยกเลิกประเพณีการหมอบคลานในเวลาเข้าเฝ้า แต่ให้ใช้วิธีถวายคานับแทนและให้นั่งเก้าอี้ ไม่ต้องนั่งกับพื้น
            4. การใช้ศักราชและวันทางสุริยคติในทางราชการ
            รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ใช้ ร.ศ. (รัตนโกสินทร์ศก) แทน จ.ศ. (จุลศักราช) ซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเริ่มใช้ ร.ศ.ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2431 เป็นต้นไป เริ่ม ร.ศ.1 ตั้งแต่ปี 2325 ซึ่งเป็นปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
            5. รัชกาลที่ 5 โปรดให้ยกเลิกการโกนผมเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต
            6. รัชกาลที่ 5 โปรดให้ยกเลิกการไต่สวนแบบจารีตนครบาล
            7. รัชกาลที่ 5 ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองสงฆ์ร.ศ.121มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประมุข
            8. รัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้งมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มหานิกาย) และมกุฎราชวิทยาลัย
            9. วัดประจารัชกาลที่ 5 คือ วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม
            10. รัชกาลที่5 อนุญาตให้ชาวต่างประเทศนั่งร่วมโต๊ะเสวยได้ในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา
            11. รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มการเสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนตามชนบท เรียกว่า “การเสด็จประพาสต้น”
            12. รัชกาลที่ 5 ทรงอนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้าเวลาเสด็จพระราชดาเนินผ่านและไม่ตอง
ปิดประตูหน้าต่าง

การปรับปรุงด้านสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 5

            1. การสุขาภิบาล สมัยรัชกาลที่ 5
                1.1 ปี พ.ศ.2413 มีประกาศห้ามราษฎรทิ้งของโสโครกลงในคลอง
                1.2 ปี พ.ศ.2440 ตั้งกรมสุขาภิบาล ในกระทรวงนครบาล
                1.3 ปี พ.ศ.2448 ขยายกิจการสุขาภิบาลไปยังหัวเมือง จัดการควบคุมโรคติดต่อต่างๆ
ได้แก่ โรคอหิวาตกโรค โรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ) โรคหัด กามโรค
            2. การตั้งโรงพยาบาล
                2.1 โรงพยาบาลแห่งแรกตั้งขึ้นที่ริมคลองบางกอกน้อย เรียกว่า โรงพยาบาลวังหลัง
ต่อมารัชกาลที่ 5 พระราชทานนามใหม่ว่า “โรงศิริราชพยาบาล” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ เจ้าฟ้า ศิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นพระราชโอรส ซึ่งประชวรสิ้นพระชนม์เนื่องจาก ขาดแคลนด้านการพยาบาล
                2.2 ปี พ.ศ.2431 ตั้งกรมพยาบาล
                2.3 ปี พ.ศ.2436 ตั้งสภาอุณาโลมแดง ปัจจุบันคือ สภากาชาดไทย
                2.4 ปี พ.ศ.2445 ตั้งโอสถศาลา (โรงงานเภสัชกร)
            3. การตั้งโรงเรียนแพทย์
            รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯให้เปิดโรงเรียนแพทย์ขึ้นในโรงพยาบาลศิริราช ในปี พ.ศ.2432 มีชื่อ เรียกว่า โรงเรียนแพทยากร ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ราชแพทยาลัย ปัจจุบันคือ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล

การปรับปรุงด้านการศึกษาสมัยรัชกาลที่ 5

            1. โรงเรียนสตรีแห่งแรก มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ตั้งโดยแหม่มเฮาส์ ปี พ.ศ.2417 ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช
            2. มีการตั้งโรงเรียนในต่างจังหวัดที่สาคัญได้แก่ โรงเรียนปรินซ์รอแยลวิทยาลัยดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่โรงเรียนผดุงราษฎร์ จังหวัดพิษณุโลก โรงเรียนอรุณประดิษฐ์ จังหวัดเพชรบุรี
            3. รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการศึกษา เพราะต้องการสร้างคนที่มีความรู้เพื่อเข้ารับราชการในกระทรวงต่างๆ ที่ทรงปรับปรุงใหม่ โดยตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรก คือ โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2414 โดยพระราชทานเสื้อผ้า อาหารกลางวันให้แก่นักเรียน ครูก็ได้รับค่าจ้าง ต่อมาได้พระราชทานพระตาหนักเดิม ที่สวนกุหลาบ ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของพระบรมมหาราชวังให้เป็นที่เรียนพระราชทานนามว่า โรงเรียนพระตาหนักสวนกุหลาบ โดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นอาจารย์ใหญ่
            4. รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการศึกษาเพราะ การเลกทาส ทาให้ทาสเป็นไทเพื่อเป็นการวางรากฐานไม่ให้คนพวกนี้กลับไปเป็นทาสอีก ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อ การพัฒนาประเทศ จึงโปรดให้ตั้งโรงเรียนสาหรับราษฎรขึ้นแห่งแรก คือ “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม” ในปี พ.ศ.2427 เพื่อให้ทุกคนได้รับการศึกษาและ นาไปประกอบอาชีพได้
            5. รัชกาลที่ 5 โปรดฯให้ใช้แบบเรียน 6 เล่ม ที่พระยาศรีสุนทรโวหาร แต่งขึ้นใหม่
            6. ปี พ.ศ.2430 จัดตั้งกรมศึกษาธิการ รับผิดชอบด้านการศึกษาโดยเฉพาะและเปลี่ยนมาใช้แบบเรียนเร็วของกรมหมื่นดารงราชานุภาพ
            7. มีการประกาศใช้โครงการศึกษาชาติ
            8. รัชกาลที่ 5 โปรดฯให้มีการสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงขึ้น เรียกว่า “คิงสกอลาชิป” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2440 เป็นประจาทุกๆปี ปีละ 2 คน ส่งไปศึกษายังทวีปยุโรป หรืออเมริก

การปรับปรุงประเพณีวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 6 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

            1. การใช้พุทธศักราช (พ.ศ.)รัชกาลที่ 6 โปรดฯให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) แทนการใช้ ร.ศ. เพราะเป็นศักราชทางศาสนาเหมือนกับประเทศตะวันตกใช้คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
            2. วันขึ้นปีใหม่ คือวันที่ 1 เมษายนของทุกปี
            3. ประกาศใช้พระราชบัญญัตินามสกุล ในปี พ.ศ.2455 รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น เพื่อส่งเสริมความรักใคร่ผูกพันในระหว่างผู้ร่วมนามสกุล และรักษาเกียรติยศ โดยประพฤติไปในทางที่ชอบ
            4. การประดิษฐ์ธงชาติใหม รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนธงชาติขึ้นใหม่ใช้สามสีแบบเดียวกับนานาประเทศคือ สีน้าเงิน สีขาว สีแดง พระราชทางนามธงชาติแบบสามสี ห้าริ้ว ว่า “ธงไตรรงค์”
            5. การเปลี่ยนแปลงการนับเวลา แต่เดิมไทยนับเวลาตอนกลางวันเป็น “โมง” กลางคืนเป็น “ทุ่ม” 

สัปดาห์ที่ 17 ความมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

2. ความมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

โดยทั่วไปแล้วการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จะมีความมุ่งหมายดังนี้
        2.1 เพื่อค้นหารากฐานหรือจุดกำเนิดของสิ่งที่ต้องการศึกษาวิจัย
        2.2 เพื่อศึกษาและชี้ให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ในอดีต
        2.3 เพื่อให้เข้าใจสภาพเหตุการณ์ในปัจจุบัน อันอาจจะมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งกฎเกณฑ์หรือปรับปรุงงานในปัจจุบันให้มีมาตรฐานได้
        2.4 เพื่อใช้เหตุการณ์ในอดีตหรือความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ในอดีต เป็นแนวโน้มที่จะชี้บ่งหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคตที่คล้ายคลึงกัน
        2.5 เพื่อค้นหาข้อสมมติฐานที่ตั้งขึ้นบนรากฐานของความรู้และประสบการณ์ในอดีตที่จะนำไปใช้ในอนาคตได้
        2.6 เพื่อศึกษาต้นตอของทฤษฎีต่าง ๆ อันจะทำให้เกิดความกระจ่างในเรื่องราวหรือทฤษฎีที่สำคัญ ๆ ในปัจจุบัน
        2.7 เพื่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และช่วยให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน และเรื่องราวที่จะเกิดในอนาคต
        2.8 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความจริงให้มากขึ้นตามลำดับ และเป็นการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของบุคคลที่มีต่อเหตุการณ์หรือเรื่องราวในอดีต
        2.9 เพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

สัปดาห์ที่ 16 การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น  สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกภายหลังที่ได้ทรงเลิกทัพกลับจากกรุงกัมพูชาเพราะในกรุงธนบุรีเกิดการจลาจล
            เมื่อถึงกรุงธนบุรีบรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้แก้ไขวิกฤติการณ์ พร้อมกันนั้นก็พากันอันเชิญให้พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินไทยสืบต่อไป เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี (นับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์จักรี 
            ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรี เพื่อระลึกถึงวันแห่งการสถาปนาราชวงศ์จักรี)
            ภายหลังเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รัชกาลที่ 1 ทรงเห็นว่าก่อนจะประกอบพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์เห็นว่าควรจะย้ายราชธานีไปอยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสียก่อน 
            โดยบริเวณที่ทรงเลือกที่จะสร้างพระราชวังนั้น เคยเป็นสถานีการค้าขายกับชาวต่างประเทศในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีนามเดิมว่า “บางกอก” ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีน 
            เมื่อได้ทรงชดเชยค่าเสียหายให้พอสมควรแล้วทรงให้ชาวจีนย้ายไปอยู่ตำบลสำเพ็ง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างรั้วไม้แทนกำแพงขึ้น และสร้างพลับพลาไม้ขึ้นชั่วคราว 
            หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2325 ขณะที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา ได้ทรงประกอบพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีฯ” 
            แต่ในสมัยปัจจุบันผู้คนนิยมเรียกพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” และทรงสถาปนาตำแหน่ง วังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) และตำแหน่งวังหลัง (กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข)

            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้รับอัญเชิญขึ้นครองราชย์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 
            แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้สร้างพระราชวังใหม่ จึงทรงประทับในพระราชวังเดิมไปก่อน ต่อมาเมื่อก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง และราชธานีแห่งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสร็จ ในปี พ.ศ.2328 
            ก็โปรดฯให้มีการสมโภชน์พระนครและกระทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ อีกครั้ง และพระราชทานนามพระนครใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา  มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาลสถิต สักกทิตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” หรือที่คนยุคปัจจุบันนิยมเรียกว่า “กรุงรัตนโกสินทร์” นั่นเอง
        (ครั้นในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเปลี่ยนสร้อยที่ว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” นอกนั้นคงเดิม) 
        และในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ได้สร้างวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) เป็นวัดที่ใช้ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่
        และเมื่อสร้างพระนครเสร็จสมบูรณ์ได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดนี้ และได้พระราชทานนามให้ใหม่ว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพื่อให้สอดคล้องกับนามของพระนครใหม่



สาเหตุการย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาตั้งที่กรุงรัตนโกสินทร์

            กรุงธนบุรีเป็นเมืองที่มีการสร้างป้อมปราการเอาไว้ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยเอาแม่น้ำผ่ากลาง (เรียกว่าเมืองอกแตก) เหมือนเมืองพิษณุโลก มีประโยชน์ตรงที่อาจเอาเรือรบไว้ในเมือง 
            เมื่อเวลาถูกข้าศึกมาตั้งประชิดแต่การรักษาเมืองคนข้างในจะถ่ายเทกำลังเข้ารบพุ่งรักษาหน้าที่ได้ไม่ทันท่วงทีเพราะต้องข้ามแม่น้ำ แต่แม่น้ำเจ้าพระยาทั้งกว้างและลึกจะทำสะพานข้ามก็ไม่ได้ ทำให้ยากแก่การรักษาพระนครเวลาข้าศึกบุก 
            กรุงธนบุรีอยู่ในท้องคุ้งน้ำ ทำให้น้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย บริเวณพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคับแคบ มีวัดขนาบทั้งสองข้าง คือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) กับวัดท้ายตลาด (วัดโมฬีโลกยาราม) ทำให้ยากแก่การขยายพระราชวังให้กว้างออกไป
เหตุผลของการเลือกทำเลที่ตั้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

            1. ทางฝั่งกรุงเทพฯเป็นที่ชัยภูมิเหมาะสมเพราะเป็นหัวแหลมถ้าสร้างเมืองแต่เพียง ฟากเดียว จะได้แม่น้ำใหญ่เป็นคูเมืองทั้งด้านตะวันตกและด้านใต้ เพียงแต่ขุดคลองเป็นคูเมืองแต่ด้านเหนือและด้านตะวันออกเท่านั้น ถึงแม้ว่าข้าศึกจะเข้ามาโจมตีก็พอต่อสู้ได้ 
            2. เนื่องด้วยทางฝั่งตะวันออกนี้ พื้นที่นอกคูเมืองเดิมเป็นพื้นที่ลุ่มที่เกิดจากการตื้นเขินของทะเล ข้าศึกจะยกทัพมาทางนี้คงทำได้ยาก ฉะนั้นการป้องกันพระนครจะได้มุ่งป้องกันเพียง ฝั่งตะวันตกแต่เพียงด้านเดียว 
            3. ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ใหม่ สันนิษฐานว่าชุมชนใหญ่ในขณะนั้นคงจะมีแต่ชาวจีนที่เกาะกลุ่มกันอยู่จึงสามารถขยายออกไปได้อย่างกว้างขวาง และขยายเมืองได้เรื่อยๆ


วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 15 ความขัดแย้งระหว่างประเทศครั้งสำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น

ความขัดแย้งในคริสต์วรรษที่ 20 การปฏิวัติอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาการของโลกในคริสต์สตวรรษที่ 19 ทำให้โลกก้าวหน้ามากขึ้น มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้และปรับปรุงการคมนาคมที่ อำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย- กรรม อันมีผลทำให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติมหาอำนาจ และเริ่มแข่งขันกันแสวงหา อาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเล อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติในฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1789 โดยการ ล้มล้างสถาบันกษัตริย์แล้วตั้งรัฐบาลที่มาจากประชาชน ตลอดจนการปฏิวัติของชาวอเมริกันเพื่อ แยกตัวเป็นอิสระจากอังกฤษใน ค.ศ. 1776 รวมทั้งความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม ด้าน พาณิชกรรมและลัทธิจักรวรรดินิยมได้มีส่วนกระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งที่สำคัญใน ประวัติศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ การเกิดสงครามโลก ซึ่งผลของสงครามก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ความขัดแย้งระหว่างประเทศ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจและ การแย่งชิงทรัพยากรหรือดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุมาจากการแข่งขันทางการ เมืองเพื่อความเป็นใหญ่ในภูมิภาค เช่น นโยบายสร้างฝรั่งเศสในสมัยนโปเลียน นโยบายสร้าง เยอรมนีให้ยิ่งใหญ่ เป็นต้น หรืออาจมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางศาสนา และการเมือง ทางด้านศาสนา เช่น สงครามครูเสดระหว่างศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามใน คริสต์ศตวรรษที่ 13 ทางด้านการเมือง เช่น ความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับ คอมมิวนิสต์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น ทั้งนี้ความขัดแย้งที่สำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ เกิดขึ้นจากการยึดมั่นในอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน จนทำให้เกิดสงครามขึ้น ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War : ค.ศ. 1914-1918) สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) เป็นสงครามที่เริ่มขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 และสิ้นสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งนี้เป็นสงครามที่เกิดจากความ ขัดแย้งของประเทศในทวีปยุโรปและลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 30 ประเทศ สร้างความเสียหายให้แก่มนุษยชาติอย่างรุนแรง จึงเรียกสงครามโลกครั้งนี้อีกอย่างหนึ่งว่า มหาสงคราม (Great War) หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล 81 สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่ 1. ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) ภายหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (Franco-Prussia) ระหว่าง ค.ศ. 1870-1871 ซึ่งเกิดจากการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซีย ผลของสงครามก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ สงครามต้องยอมเสียแคว้นอัลซาซ-ลอเรน (Alsace Larraine) ให้แก่เยอรมนี ทำให้รัฐเยอรมนี สามารถรวมตัวกันและสถาปนาเป็นจักรวรรดิเยอรมัน (German Empire) เป็นมหาอำนาจที่สำคัญ ในยุโรป ขณะเดียวกันก็ทำให้การปกครองในระบบจักรวรรดิฝรั่งเศสต้องสิ้นสุดลงและ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐ รวมทั้งยังส่งผลให้อิตาลีรวมชาติได้สำเร็จ ทำให้เกิด ลัทธิชาตินิยมในฝรั่งเศส เยอรมัน และอิตาลี ในเวลาใกล้เคียงกันก็เกิดลัทธิชาตินิยมในคาบสมุทร บอลข่าน ที่ประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นชาวสลาฟต้องการเป็นอิสระ ต่างก็พยายามที่สร้างชาติของตน ให้เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ 2. การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคม ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยุโรปประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าแบบเสรีได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มหาอำนาจตะวันตกจึง แสวงหาอาณานิคมในแอฟริกาและเอเชีย เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาป้อนโรงงาน อุตสาหกรรมโดยใช้กำลังทหารเข้ายึดครองดินแดนที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ จึงเป็นเหตุให้ เกิดสงครามหลายครั้งเพื่อแย่งชิงดินแดนใน 2 ทวีปดังกล่าว ดินแดนในแอฟริกาได้ตกเป็น อาณานิคมของอังกฤษ ฝรั่งเศส ดัตช์ (เนเธอร์แลนด์) เยอรมนี อิตาลี เบลเยียม และโปรตุเกส ในทวีปเอเชีย อังกฤษครอบครองอินเดีย พม่า มลายู บอร์เนียว ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ฝรั่งเศสครอบครองลาว เขมร ญวน รวมเป็นอินโดจีนฝรั่งเศส ส่วนในตะวันออกกลางเป็น ดินแดนแข่งขันอิทธิพลระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และตุรกี การขัดแย้งดังกล่าว นำไปสู่การสะสมกำลังทหาร กำลังอาวุธยุทโธปกรณ์และมีความหวาดระแวงต่อกันมากขึ้น 3. ความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจต่างๆ ในยุโรปด้านผลประโยชน์ อำนาจทางการ เมืองและเศรษฐกิจ รวมทั้งความมั่นคงของประเทศ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มหาอำนาจใน ยุโรปมีความขัดแย้งกันหลายฝ่าย ได้แก่ 3.1 ความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซีย ฝรั่งเศสมีความขัดแย้งกับปรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพเยอรมนีที่พยายามจะรวมชาติให้สำเร็จ ฝรั่งเศสพยายามกีดกันไม่ให้เยอรมนี รวมชาติ เพราะเกรงว่าจะเป็นภัยต่อฝรั่งเศส จนต้องทำสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ผลคือ ฝรั่งเศส พ่ายแพ้ต้องทำสัญญาสงบศึก ต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสได้ทำสัญญาแฟรงค์เฟิร์ต (Treaty of 82 หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล Frankfurt) ต้องสูญเสียดินแดนอัลซาซ-ลอเรน ที่อุดมด้วยแร่เหล็กและต้องจ่ายค่า ปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนมาก 3.2 ความขัดแย้งระหว่างออสเตรีย-ฮังการีกับสหภาพโซเวียต* ทั้งออสเตรีย- ฮังการีต่างแข่งขันกันขยายอิทธิพลในดินแดนยุโรปตะวันออกและแหลมบอลข่าน แหลมบอลข่าน นี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน แต่ต่อมาจักรวรรดิ ออตโตมันอ่อนแอลง ทำให้สูญเสียดินแดนในครอบครองให้กับชาติยุโรปอื่นๆ เช่น ตามสนธิ สัญญาคาร์โลวิทซ์ (Treaty of Karlowitz : ค.ศ. 1699) ออสเตรียได้ครอบครองฮังการี ทราน- ซิลเวเนีย โครเอเชีย และสลาโวเนีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จักรวรรดิออตโตมันทำสนธิสัญญา กูชุก ไกนาร์จี (Treaty of Kuchuk Kainarji : ค.ศ. 1774) ทำให้สหภาพโซเวียตได้ดินแดนชายฝั่ง ตอนเหนือของทะเลดำและสิทธิในการคุ้มครองคริสต์ศาสนิกชนนิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ในดินแดน ของจักรวรรดิออตโตมัน นอกจากนี้สหภาพโซเวียตยังดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เรียกว่า “อุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟ” (Pan-Slavism) และเข้าแทรกแซงทางการเมือง ทำให้ชนชาติสลาฟ ในคาบสมุทรบอลข่านหวังให้สหภาพโซเวียตช่วยให้ตนเองได้ตั้งรัฐอิสระและปกครองตนเอง นอกจากนี้ภายหลังสนธิสัญญาบูคาเรสต์ (Treaty of Bucharest : ค.ศ. 1812) ได้เป็นผู้ค้ำประกัน เซอร์เบีย ใน ค.ศ. 1875 พวกสลาฟในบอสเนียได้ก่อกบฏขึ้น เพื่อแยกตนเป็นอิสระ ซึ่งถือว่าตนเป็น ผู้พิทักษ์ชาวสลาฟในแหลมบอลข่านและหวังผลประโยชน์ในการใช้แหลมบอลข่านเป็นทางออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จึงประกาศสงครามกับจักรวรรดิออตโตมันเมื่อ ค.ศ. 1877 สงครามยุติลง โดยสหภาพโซเวียตเป็นฝ่ายชนะ จึงสนับสนุนเซอร์เบียในการรวมชาวสลาฟในแหลมบอลข่าน ดังนั้นเมื่อออสเตรีย-ฮังการีใช้เหตุการณ์ที่พวกเติร์กหนุ่มก่อการปฏิวัติ ผนวกดินแดนที่มีชาวสลาฟ 2 แคว้น คือ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเป็นของตน เพื่อป้องกันมิให้ขบวนการรวมกลุ่มสลาฟซึ่ง มีเซอร์เบียเป็นผู้นำดำเนินการเคลื่อนไหวกับพวกสลาฟในบอสเนีย เซอร์เบียและสหภาพโซเวียต จึงยุยงพวกสลาฟให้ก่อกบฏขึ้น จึงเกิดวิกฤตการณ์บอสเนียขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1908 ภายหลังการเจรจา วิกฤตการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง แม้ปราศจากสงครามแต่ก็ก่อความร้าวฉานระหว่างเซอร์เบียและ สหภาพโซเวียตกับออสเตรีย-ฮังการี *สหภาพโซเวียตหรือประเทศรัสเซียในปัจจุบัน เดิมนั้นสหภาพโซเวียตประกอบด้วยสาธารณรัฐต่างๆ 15 สาธารณรัฐ แต่ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะสมัยประธานาธิบดีนีกีตา ครุชชอฟ สหภาพโซเวียตยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ ระดับหนึ่งในความเชื่อทางศาสนา ทำให้ประชาชนหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรมภายในสหภาพโซเวียตมีความผูกพันกันมากขึ้น แนวคิดชาตินิยมจึงเกิดขึ้นและมีส่วนทำให้ความจงรักภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มลดน้อยลงจนกลายเป็นความต้องการที่จะ ปกครองตนเอง ต่อมาเมื่อประธานาธิบดีมิฮาอิล กอร์บาชอฟของสหภาพโซเวียตมีนโยบายประเทศให้เป็นประชาธิปไตย ทำให้เกิด กระแสชาตินิยมและความขัดแย้งทางการเมืองภายในสาธารณรัฐต่างๆ เช่น สาธารณรัฐบอลติก ซึ่งประกอบด้วยเอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต ทำให้สาธารณรัฐอื่นๆ ก็เริ่มเคลื่อนไหวแยกตัวออกมาด้วย ความเป็นเอกภาพทางการเมืองของสหภาพโซเวียตจึงแตกแยกและนำไปสู่การสิ้นสุดของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 ดังนั้นหาก กล่าวถึงประเทศรัศเซียก่อน ค.ศ. 1991 จะใช้ชื่อว่า สหภาพโซเวียต แต่หากหลัง ค.ศ. 1991 จะใช้ชื่อว่า รัสเซีย หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล 83 3.3 ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับเยอรมนีอังกฤษไม่พอใจเยอรมนีที่เสริมสร้าง ความเข้มแข็งทางทหารเพิ่มขึ้นตลอดเวลา รวมทั้งการแข่งขันด้านการค้า ทำให้อังกฤษเห็นว่า ความเข้มแข็งของเยอรมนีเป็นภัยคุกคามอังกฤษ 4. มหาอำนาจในยุโรปแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย ความขัดแย้งกันทั้งทางด้านการแสวงหา อาณานิคม ความขัดแย้งทางการเมืองและเศรษฐกิจทำให้ชาติมหาอำนาจแสวงหาพันธมิตรไว้เป็น พวก แบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มประเทศสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี กับกลุ่มประเทศความตกลงไตรภาคี ประกอบด้วยฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และอังกฤษ มหาอำนาจทั้งสองฝ่ายต่างไม่ไว้วางใจกัน และแข่งขันกันเพื่อให้ ประเทศอื่นๆ เข้าเป็นพันธมิตรของตน เมื่อทั้งสองฝ่ายเผชิญวิกฤตการณ์ต่างๆ ก็มักไม่ยอมกัน ทำให้กรณีพิพาทระหว่างประเทศขยายตัวเป็นสงครามโลก การรวมกลุ่มของมหาอำนาจในยุโรป เริ่มเมื่อเยอรมนีกับออสเตรีย-ฮังการีได้ลงนามใน สนธิสัญญาพันธไมตรีทวิภาคี (Dual Alliance : ค.ศ. 1869) เพราะออสเตรีย-ฮังการีคาดว่าอาจ ต้องทำสัญญากับสหภาพโซเวียต เนื่องมาจากการแข่งกันขยายอำนาจในคาบสมุทรบอลข่าน ส่วน เยอรมนีต้องการหาพันธมิตรหากเกิดสงครามกับฝรั่งเศสหรือสหภาพโซเวียต โดยทั้งคู่สัญญาว่าจะ ช่วยเหลือกันและกันถ้าถูกสหภาพโซเวียตโจมตี ต่อมาสัญญาฉบับนี้ได้ขยายเป็นสนธิสัญญาพันธ ไมตรีไตรภาคี (Triple Alliances : ค.ศ. 1882) โดยรวมอิตาลีเข้ามาด้วย เพราะอิตาลีเกรงว่าจะ ถูกฝรั่งเศสโจมตี กลุ่มพันธมิตรนี้ถูกเรียกว่า มหาอำนาจกลาง (Central Powers) เพราะทั้ง เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ตั้งอยู่ตอนกลางของทวีปยุโรป อีกฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มประเทศความตกลงไตรภาคี คือ สหภาพโซเวียตกับฝรั่งเศสได้ลงนาม ในอนุสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร (Military Convention : ค.ศ. 1892) เพราะสหภาพ โซเวียตกำลังแข่งอำนาจกับออสเตรีย-ฮังการี และหวั่นเกรงว่าเยอรมนีจะเข้าข้างออสเตรีย- ฮังการี อนุสัญญานี้ต่อมาได้กลายเป็นสนธิสัญญาพันธไมตรีฝรั่งเศส-รัสเซีย (Franco-Russian Alliance : ค.ศ. 1894) โดยตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือทางทหารต่อกันในกรณีที่ถูกเยอรมนีและ พันธมิตรโจมตี ทางด้านอังกฤษ ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบอยู่ อย่างโดดเดี่ยว (Splendid Isolation) ไม่ข้องเกี่ยวกับระบบพันธไมตรีของประเทศมหาอำนาจ แต่ ภายหลังสงครามบัวร์ (Boer War : ค.ศ. 1899-1902) อังกฤษถูกประนามจากประเทศมหาอำนาจ รวมทั้งไม่พอใจการเสริมกำลังกองทัพและการขยายแสนยานุภาพทางทะเลของเยอรมนี ในคริสต์- ศตวรรษที่ 20 อังกฤษจึงดำเนินนโยบายและแสวงหาพันธมิตร โดยทำความตกลงฉันท์มิตร (Entente Condial) กับฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1904 และทำการตกลงอังกฤษ-รัสเซีย (Anglo-Russian Entente : ค.ศ. 1907) และต่อมากลายเป็น “ความตกลงไตรภาคี” (Triple Entente) ระหว่าง 84 หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย เพื่อแก้ไขกรณีพิพาทในเรื่องอาณานิคมและการแย่งผลประโยชน์ ระหว่างกันในกลุ่มพันธมิตรนี้ ถูกเรียกว่า ฝ่ายมหาอำนาจสัมพันธมิตร (Allied Powers) ใน สงครามโลกครั้งที่ 1 นอกจากนี้การที่ไม่มีองค์การระหว่างประเทศทำหน้าที่แก้ไขกรณีพิพาทและความขัดแย้ง ระหว่างประเทศ ทำให้ทุกฝ่ายใช้สงครามในการแก้ปัญหา ชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 1 วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 อาร์คดุ๊กฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Archduke Francis Ferdinand) รัชทายาทของออสเตรีย-ฮังการี พร้อมเจ้าหญิงโซฟี (Sophee) พระชายา ขณะเสด็จ ประพาสเมืองซาราเยโว (Sarajevo) นครหลวงของบอสเนียได้ถูกนายกัฟริโล ปรินซิบ นักศึกษา ชาตินิยมชาวเซิร์บหัวรุนแรงลอบปลงพระชนม์เพื่อแก้แค้นที่จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเข้ายึด ครองบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินาและขัดขวางการรวมตัวของชาวสลาฟกับเซอร์เบีย ออสเตรีย- ฮังการีจึงใช้เหตุการณ์การลอบปลงพระชนม์ดังกล่าวอ้างเป็นสาเหตุเพื่อลงโทษเซอร์เบีย ซึ่งถูก สงสัยว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ จึงยื่นคำขาดให้เซอร์เบียรับผิดชอบ เมื่อเซอร์เบียปฏิเสธ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบียเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 และบุกโจม ตีเซอร์เบียทันทีเพราะเห็นว่าเซอร์เบียคอยปลุกปั่นและสนับสนุนชาวสลาฟให้แข็งข้อการปกครอง ของออสเตรีย-ฮังการี อาร์คดุ๊กฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ สหภาพโซเวียตในฐานะผู้พิทักษ์ชาวสลาฟก็ระดมพลเพื่อเตรียมช่วยเหลือเซอร์เบียทำ สงครามกับออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ทั้งฝรั่งเศสก็ปฏิเสธที่จะวางตนเป็น กลาง เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914 และ ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1914 และก็ได้ส่งกองทัพบุกเบลเยียมซึ่ง เป็นประเทศที่ได้รับการประกันความเป็นกลางทันที เพื่อบุกฝรั่งเศสตามแผนชไลเฟิน (Schlieffen หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล 85 Plan : แผนการรบของเยอรมนีด้วยวิธีรบรุกอย่างรวดเร็ว เพื่อจะพิชิตฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และอังกฤษ ตามลำดับ) อังกฤษจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 สงครามระหว่างออสเตรีย-ฮังการีกับเซอร์เบียจึงได้ขยายตัวเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามขยายออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายมหาอำนาจพันธมิตร (The Allied Powers) มี อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต เซอร์เบีย เบลเยียม รวมทั้งอิตาลีที่เปลี่ยนใจเข้ากับฝ่าย มหาอำนาจพันธมิตรเพราะต้องการที่จะผนวกดินแดนของออสเตรีย-ฮังการีที่มีชาวอิตาลีอาศัยอยู่ จำนวนมาก และชาติอื่นๆ รวมทั้งญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ที่เมื่อเริ่มสงครามประกาศนโยบายต่าง ประเทศแบบเป็นกลาง จนกระทั่งเมื่อ ค.ศ. 1917 จึงเข้าข้างฝ่ายมหาอำนาจพันธมิตร และอีกฝ่าย คือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (The Central Powers) ที่มีเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี และ บัลแกเรีย การรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการรบทั้งทางอากาศ ทางบก และทางเรือ ประเทศคู่ สงครามต่างประดิษฐ์อาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ที่มีอำนาจการทำลายสูงมาใช้ เช่น อังกฤษเป็นชาติ แรกที่ประดิษฐ์เรือดำน้ำ ที่เรียกว่า “เรือยู” (U-Boat) เป็นต้น “เรือยู” เป็นเรือดำน้ำที่ผลิตโดยประเทศอังกฤษในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ปลายสงครามเยอรมนีเริ่มพ่ายแพ้ในการรบ ทหารและประชาชนชาวเยอรมันได้ก่อการ ปฏิวัติ คณะรัฐบาลถูกยุบ กษัตริย์เยอรมัน (ไกเซอร์วิลเลียมที่ 2) ทรงสละราชสมบัติแล้วเสด็จไป ประทับที่เนเธอร์แลนด์ จักรวรรดิเยอรมนีล่มสลายลงและ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ 1918 ผู้นำคณะรัฐบาลชุดใหม่ขอสงบ ศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตรและลงนามในสัญญาสงบศึก สงครามโลกครั้งที่ 1 จึงยุติลง (เมื่อใน ค.ศ. 1918) พระเจ้าไกเซอร์วิลเลียม 86 หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 มีดังนี้ 1. เกิดความเสียหายด้านชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมหาศาล มีทหารเสียชีวิตประมาณ 13 ล้านคน บาดเจ็บมากกว่า 20 ล้านคน ภายหลังสงครามประชาชนในยุโรปต้องเผชิญกับโรค ระบาด ความอดอยาก เศรษฐกิจตกต่ำลง อุตสาหกรรมและการค้าถูกทำลาย 2. เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านมหาอำนาจในยุโรป ดุลอำนาจในยุโรปเปลี่ยนไป จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมันสลายตัว ดินแดนส่วนใหญ่ถูกแบ่งแยกให้ ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรแม้จะชนะสงครามก็อ่อนแอลงและเสียหาย อย่างหนักในระหว่างสงคราม ทำให้เกิดมหาอำนาจใหม่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้นใน การเมืองโลก ญี่ปุ่นกลายเป็นมหาอำนาจในเอเชียและได้ครอบครองอาณานิคมต่างๆ ของเยอรมนี ในเอเชีย 3. เกิดประเทศใหม่ ดินแดนของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีแบ่งแยกออกเป็นประเทศ ออสเตรียและประเทศฮังการี บางส่วนแยกเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ ประเทศเชคโกสโลวะเกียและ ยูโกสลาเวียจักรวรรดิรัสเซียแยกเป็นประเทศเอกราช ได้แก่ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิ ทัวเนีย จักรวรรดิออตโตมันแยกเป็นประเทศแอลเบเนีย 4. เกิดการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้อาวุธยุทโธปกรณ์เช่น ปืนใหญ่ ปืนกล แก๊สพิษ รถถัง เรือดำน้ำ โดยเฉพาะเครื่องบินประเภทต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์เครื่องบินโดยสารใน เวลาต่อมา 5. เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรีย เปลี่ยนการ ปกครองเป็นสาธารณรัฐ เรียกว่า “สาธารณรัฐออสเตรียที่ 1” (The First Austrian Republic) ส่วนเยอรมนี เปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ ซึ่งต่อมาเรียกว่า “สาธารณรัฐไวมาร์” (The Weimar Republic) สำหรับสหภาพโซเวียตเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม โดยเปลี่ยนชื่อ ประเทศเป็น “สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต” หรือสหภาพโซเวียต (The Union of Soviet Socialist Republics : U.S.S.R) เมื่อ ค.ศ. 1918 เนื่องจากการทำสงครามยาวนานทำให้ เกิดภาวะขาดแคลนต่างๆ และรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขได้ ประกอบกับการพ่ายแพ้ในการรบอยู่ เนืองๆ ชาวรัสเซียจึงก่อการปฏิวัติขึ้นก่อนสงครามโลกยุติลง กล่าวได้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็น ตัวเร่งที่ทำให้เกิดรัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แห่งแรกของโลก อียิปต์ ปาเลสไตน์ จอร์แดน และอิรัก เปลี่ยนเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ส่วนซีเรียและ เลบานอนอยู่ในอารักขาของฝรั่งเศส หนังสือเรียนสังคมศึกษาฯ ม.4-6 ประวัติศาสตร์สากล 87 6. ประเทศผู้แพ้สงครามเมื่อถูกลงโทษด้วยการเสียดินแดน สูญเสียแหล่งทรัพยากร และต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอย่างหนัก สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งว่าไม่ได้รับความเป็น ธรรม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นอีก 7. ประเทศทั้งหลายตระหนักถึงความหายนะของสงคราม และพยายามที่จะหาทางไม่ ให้เกิดสงครามอีก ผู้นำแต่ละประเทศต่างต้องการเจรจาทำสัญญาสันติภาพ โดยจัดตั้งองค์การ ระหว่างประเทศ “สันนิบาตชาติ” ขึ้น ภายหลังการเจรจาทำสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ที่พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1919 สงครามโลกครั้งที่ 2 (Second World War : ค.ศ.1939-